จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

โลกาภิวัตน์ : ความยากจน ความไม่เสมอภาค (Globalization: Poverty Inequality)

             ในความเห็นแรกเห็นว่า โลกาภิวัตน์สามารถช่วยลดความยากจนของประชาชนในประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing Country) ได้แต่จะเป็นการดียิ่งขึ้นในการช่วยประเทศที่ยากจนที่สุด (Poorest Country) ซึ่งแนวความคิดนี้เห็นว่าโลกาภิวัตน์สามารถช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และรายได้ของประชากรในประเทศเหล่านี้และหวังว่าประชาชนควรให้ความร่วมมือด้วยอย่างมาก ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วพบว่าประเทศกำลังพัฒนา 24 ประเทศที่เข้าร่วมในเศรษฐกิจระดับโลกในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา (ช่วงปี1990) ได้ประสบความสำเร็จในด้านของรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมาตรฐานการศึกษาที่สูงขึ้นดีขึ้น
ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ ได้แก่ ประเทศจีน อินเดีย ฮังการี และเม็กซิโก ได้รับมาซึ่งนโยบายทางการเมืองและสถาบันที่เอื้ออำนวยให้ประชากรได้รับผลประโยชน์จากตลาดการค้าโลก และยังรวมถึงการเพิ่มของรายได้เฉลี่ยต่อหัว (GDP) ของประชากรในประเทศด้วย ดังนั้นประเทศที่กล่าวถึงเหล่านี้ประชากรได้ทราบถึงประโยชน์และรายได้ที่มากเพิ่มขึ้น และจำนวนความยากจนของประชากรที่ลดจำนวนลง
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าทุกประเทศที่เข้าร่วมทางเศรษฐกิจจะประสบความสำเร็จในระบบเศรษฐกิจโลก ประชากรประมาณสองพันล้านคนที่เข้าร่วม เช่นในประเทศแถบแอฟริกา (Sub-Saharan Africa) ประเทศแถบตะวันออกกลาง ประเทศที่เคยเป็นสหภาพโซเวียตเก่า และคนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ถูกมองข้าม ประเทศที่กล่าวถึงเหล่านี้ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะนำตัวเองให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกได้ เพราะฉะนั้นอัตราส่วนของการค้าขายแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างประเทศจึงยังคงที่อยู่หรือมิเช่นนั้นก็ลดลง กล่าวคือสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเหล่านี้ความยากจนเพิ่มมากขึ้น ระดับการศึกษาก็พัฒนาขึ้นน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ปรับตัวเข้ากับกระแสเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์ได้ดีกว่า เพราะฉะนั้นจะเป็นการดีที่ประเทศที่ยากจนควรพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยแก่การลงทุนมากเพิ่มขึ้น(Investment Climate) และควรสนับสนุนให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนให้มีการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและควรได้มาซึ่งโอกาสอันได้เปรียบของการปรับปรุงส่งเสริมการลงทุนเช่นว่านี้
ในการปรับปรุงสภาวะแวดล้อมที่เป็นการส่งเสริมการลงทุนในประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุนและการสร้างงาน ต้องมีหลักธรรมภิบาลในการบริหารที่ดีทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Governance), มาตรการในการต่อสู้กับการคอรัปชั่น (Combat Corruption), ปรับปรุงระบบการทำงานและขั้นตอนการบังคับบัญชาของหน่วยงานราชการ, การปกป้องทางทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium-sized firms) ซึ่งธุรกิจที่กล่าวนี้คือกุญแจสำคัญในการสร้างและยกระดับมาตรฐานชีวิตของพื้นที่ยากจนที่อยู่ห่างไกลออกไป (rural poor area)
แม้ว่าจะได้กล่าวมาถึงกระแสโลกาภิวัตน์ในหลายๆด้านแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการยากที่จะให้ความหมายเฉพาะเจาะจงของความสัมพันธ์ระหว่างกระแสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าพัฒนาทางสังคม โลกาภิวัตน์เป็นหัวข้อที่มีการอภิปรายถกเถียงกันมากที่สุดหัวข้อหนึ่งในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการพัฒนาการของสังคมในช่วงปี 1990 กระแสโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่น่าพอใจและส่งผลดีต่อประชาชนและสังคมโดยทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันบางคนเห็นว่าโลกาภิวัตน์เปรียบเสมือนพลังผลักดันไปสู่ความหรูหรารุ่งเรืองและให้ประเทศที่ยากจนกว่า (Poorer Countries) พยายามก้าวทันไปกับเศรษฐกิจโลกโดยที่ตัวเองยังไม่พร้อม ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปมองโลกาภิวัตน์ว่าเป็นเสมือนสิ่งที่จำเป็นในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ และปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือในระดับประเทศ (Domestic)โลกาภิวัตน์จะทำให้ส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อคนชั้นทำงานในเรื่องสวัสดิการสังคม และอาจก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคในสังคม ซึ่งปัญหาในเรื่องนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบได้ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาได้เหมือนๆ กัน
สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วคือเรื่องเกี่ยวกับการแข่งขันการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาความกลัวที่เกิดคือการกลัวที่จะไม่สามารถสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ในสภาวะการแข่งขันอย่างเสรีและจะทำให้เกิดช่องว่างที่ต่างกันทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจโลกและความกังวลระหว่างกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาว่าโลกาภิวัตน์จะทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศตนอ่อนแอมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสากลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกรอบของการส่งออกของประเทศยังไปในลักษณะแคบๆ แต่ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในกรอบของการค้าขายแลกเปลี่ยนได้รับการตอบรับอย่างสูง
ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ ความไม่แน่นอนในระบบเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นที่มีการนำมาลงทุนในประเทศ ซึ่งอาจมีผลเสียกล่าวคือ สถาบันการเงินภายในประเทศไม่แข็งแรงพอที่จะต้านรับไหว (ฐานการเงินของเราอาจจะไม่แข็งแรงพอที่จะต้านรับเงินทุนก้อนใหญ่ที่เข้ามาอย่างรวดเร็วจากต่างประเทศในช่วงระยะเวลาสั้นๆ กล่าวคือ ความไม่พร้อมนั่นเอง) ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการขึ้นลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
วิกฤติการณ์เรื่องกระแสโลกาภิวัตน์ได้เกิดขึ้นในเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่ กล่าวคือ เกิดการแข่งขันกันระหว่าง ระบบเศรษฐกิจแบบใช้ค่าจ้างแรงงานต่ำ กับ ระบบเศรษฐกิจที่ใช้ค่าจ้างแรงงานสูง และลดปริมาณการใช้แรงงานที่ไร้ฝีมือ ในขณะที่เศรษฐกิจยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และกระแสโลกาภิวัตน์ก็เป็นหนึ่งในแนวโน้มของโลกที่ยังเดินหน้า แนวโน้มหนึ่งข้อในทั้งหมดก็คือเศรษฐกิจโลกอุตสาหกรรมกำลังเติบโตเต็มที่และโลกปัจจุบันก็เปลี่ยนไปเป็นการจ้างแรงงานที่มีฝีมือ
ในความเป็นจริง กระแสโลกาภิวัตน์ได้ทำให้กระบวนการต่างๆ ของโลกง่ายขึ้น และราคาถูกลง โดยนำผลกำไรและประโยชน์ให้กับรูปแบบการลงทุนแบบทุนนิยม นวัตกรรม เทคโนโลยีและราคาที่ถูกลงของสินค้านำเข้า โดยทั่วไประบบของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และมาตรฐานการครองชีพของกลุ่มประเทศโลกอุตสาหกรรมย่อมจะดีกว่าประเทศที่เป็นเศรษฐกิจระบบปิด แต่ได้รับประโยชน์ในรูปแบบของกระแสโลกาภิวัตน์ในกลุ่มประเทศต่างๆ นั้นจะไม่เท่ากัน บางประเทศจะสูญเสียผลประโยชน์และยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมได้
นโยบายตอบสนองที่เหมาะสมสำหรับกระแสโลกาภิวัตน์ในประเทศต่างๆ
รัฐบาลควรปกป้องผลประโยชน์ให้กับกลุ่มที่เสียเปรียบ เช่น กลุ่มแรงงานไร้ฝีมือที่ได้ค่าแรงต่ำ  หรือรัฐบาลควรเข้มงวดกับเรื่องสินค้านำเข้า หรือรัฐบาลควรจะเข้มงวดกับการค้าขายแลกเปลี่ยนและนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในประเทศ โดยทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเรื่องการแก้ปัญหาแบบระยะสั้นเท่านั้น สำหรับนโยบายที่รัฐบาลควรจะทำก็คือ เสริมสร้างความผสมกลมกลืนเรื่องกระแสโลกาภิวัตน์ให้กับประเทศตน ในขณะเดียวกันก็ควรจะดูแลแรงงานประเภทได้ค่าจ้างแรงงานต่ำและได้รับผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงนี้ อีกทั้งควรส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเปิดให้มีการค้าได้โดยเสรี เพื่อให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลควรจะเป็น 2 สิ่งสำคัญ ดังนี้
  • เน้นฝึกฝนวิชาชีพ และให้การศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม จุดประสงค์เพื่อให้แรงงานทั้งหลายได้พัฒนาฝีมือของตนให้เหมาะสมกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
  • ต้องมีระบบการวางแผนที่ดีด้านสวัสดิการทางสังคม สำหรับช่วยเหลือกลุ่มแรงงานในกรณีที่ไม่มีงานทำ
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงปี 1990 ที่เกิดใน เม็กซิโก ไทย อินโดนีเซีย เกาหลี รัสเซีย และบราซิล เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของโลกาภิวัตน์ จะเห็นได้ชัดว่า ช่วงวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่มีการเปิดกว้างของตลาดทุนโลกและในขณะเดียวกันประเทศเหล่านี้ก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลยในการพัฒนาการการเติบโตของประเทศหากไม่มีเงินทุนที่ไหลเวียนเข้ามา ซึ่งวิกฤติการณ์ที่ซับซ้อนนี้เป็นผลมาจากข้อบกพร่องทางด้านนโยบายของรัฐและระบบการเงินระดับประเทศ ซึ่งปัจเจกบุคคลรวมทั้งสังคมระดับประเทศควรระวังและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
ส่วนวัตถุประสงค์ของทิศทางเศรษฐกิจระดับโลก คือ พยายามทำให้โครงสร้างของเศรษฐกิจและการเงินมั่นคงขึ้น วัตถุประสงค์โดยกว้างๆ คือ ให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ซึ่ง IMF เป็นจุดศูนย์กลางและมีบทบาทสำคัญของกระบวนการนี้


ที่มา http://www.baanjomyut.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น